ดาวเคราะห์พลาสติกกับการเดินทางของเชื้อโรค

127470.jpg

หากลองสังเกตให้ดี ไม่ว่าจะเป็นเรือ โป๊ะ เสา หรือทุ่นลอยน้ำในทะเลก็มีสิ่งมีชีวิตเล็กๆมาเกาะเต็มไปหมด ทั้งหอย เพรียง ตะไคร่น้ำ สาหร่าย...ย่อสเกลมาให้เล็กลงบนเม็ดพลาสติกจิ๋วหลิวก็มีจุลินทรีย์มากมายเกาะอยู่เหมือนกันจนกลายเป็นดาวเคราะห์ดวงใหม่ที่ชื่อว่า “Plasticsphere”

อย่างที่เราทราบกันว่าพลาสติกถือเป็นขยะที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของระบบนิเวศทางทะเลอย่างมาก ทีมนักวิจัยจากหลากหลายหน่วยงานร่วมมือกันศึกษาสิ่งมีชีวิตที่ฝังตัวอยู่ในไมโครพลาสติกและค้นพบว่านอกจากไมโครพลาสติกจะเป็ฯเป็นขยะแล้วยังเป็นบ้านของสิ่งมีชีวิตอีกด้วย ไมโครพลาสติกที่มีขนาดเพียงไม่เกิน 5 มิลลิเมตรนั้น มีจุลินทรีย์ขนาดเล็กเกาะอยู่มากมายกว่า 1,000 ชนิด!

 “เราไม่ได้ดูเพียงแค่ว่ามีตัวอะไรอยู่ในนั้นบ้าง แต่เรายังสนใจด้วยว่ามันทำหน้าที่อย่างไร มีผลอย่างไรต่อระบบนิเวศบน plasticshpere บ้าง และสุดท้ายชะตากรรมของเม็ดพลาสติกเหล่านี้ในมหาสมุทรจะจบลงอย่างไร?” Erik Zettler จาก Sea Education Association (SEA) กล่าว

https://www.nbcnews.com/science/environment/glowing-bugs-may-lure-fish-plastisphere-n38446

https://www.nbcnews.com/science/environment/glowing-bugs-may-lure-fish-plastisphere-n38446

ถ้าเรายังจำเรื่องระบบนิเวศ (ecosystem) บนโลกกันได้ระบบนิเวศจะประกอบด้วยพืชทำหน้าที่เป็นผู้ผลิต มันจะทำการสังเคราะห์แสงเพื่อเปลี่ยนพลังงานจากแสงแดดเป็นผักใบเขียวอันโอชะและส่วนต่างๆของพืช และมีสัตว์กินพืช เช่น กระต่าย แมลง วัว หมีแพนด้า เป็นผู้บริโภคอันดับหนึ่ง คือกินพืชเป็นอาหาร และมีผู้บริโภคอันดับถัดๆไปที่จะกินสัตว์เป็นอาหาร สุดท้ายจะมีผู้ย่อยสลาย เช่น แบคทีเรีย เห็ดรา ปลวก คอยย่อยเศษซากให้กลายเป็นสารอาหาร ซึ่งจะถูกนำไปใช้ในการเจริญเติบโตของผู้ผลิตต่อไป

 

ทีนีเเรามาว่ากันต่อได้ถึงระบบนิเวศบนเม็ดพลาสติก โดยสมมุติให้ไมโครพลาสติกนี้เป็นโลกหนึ่งใบและ ประกอบด้วยกลุ่มแบคทีเรียหลายสายพันธุ์ สาหร่าย และพืชน้ำบางชนิด โดยสาหร่ายและพืชน้ำทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตเช่นเดียวกับพืช เพราะสามารถสังเคราะห์แสงเองได้ แบคทีเรียบางชนิดที่มากินสาหร่ายจัดเป็นผู้บริโภค และแน่นอนก็เป็นแบคทีเรียอีกเช่นกันที่มาย่อยสลายเพื่อนๆของมัน ความสัมพันธ์เหล่านี้ก่อให้เกิดเป็นระบบนิเวศเล็กๆที่โยงใยกันอย่างซับซ้อน จนนักวิทยาศาสตร์ถึงกับให้ชื่อว่า “ปะการังของจุลินทรีย์” (Microbial reef)

ภาพภายใต้กล่องจุลทรรศน์ที่แสดงให้เห็นแบคทีเรียหลายชนิดทั้งแบบที่เป็นก้อน เป็นเส้นใย และรอยแตกบนเม็ดพลาสติกhttps://www.astrobio.net/extreme-life/the-ecology-of-the-plastic-sphere/

ภาพภายใต้กล่องจุลทรรศน์ที่แสดงให้เห็นแบคทีเรียหลายชนิดทั้งแบบที่เป็นก้อน เป็นเส้นใย และรอยแตกบนเม็ดพลาสติก

https://www.astrobio.net/extreme-life/the-ecology-of-the-plastic-sphere/

พลาสติกกลายเป็นเรือลำน้อยลอยกลางทะเลเนื่องจากพลาสติกใช้ระยะเวลานานในการย่อยสลาย ทำให้เรือลำนี้พาสิ่งมีชีวิตที่เกาะไปด้วยดินทางไปสู่ที่อื่นได้ง่ายและไกลแสนไกล ผลที่ตามมาคือสิ่งมีชีวิตต่างด้าวพวกนี้ก็อาจจะไปรุกรานสิ่งมีชีวิตเจ้าถิ่นในที่นั้นได้ๆ ตัวอย่างเช่น แบคทีเรียสกุล Vibrio ซึ่งเป็นสกุลหลักที่พบบนผิวพลาสติกและชนิดเป็นสาเหตุให้เกิดโรคท้องร่วง โลกบนพลาสติกเล็กๆเหล่านี้ อาจจะก่อให้เกิดโรคระบาดยิ่งใหญ่ในพื้นที่อื่นๆได้ โดยปกติแล้วแบคทีเรียที่เป็นอันตรายมักไม่พบกลางมหาสมุทร แต่ว่าปัจจุบันก็สามารถพบได้มากขึ้นเนื่องจากมันเกาะอยู่กับเม็ดพลาสติกเหล่านี้ และก่อให้เกิดผลกระทบต่อปลา สิ่งมีชีวิตอื่นๆในระบบนิเวศ รวมถึงมนุษย์ด้วย

จากการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนพบว่าแบคทีเรียเล่านี้ก่อให้เกิดร่องและหลุมบนเม็ดพลาสติกเพื่อฝังตัวเองเข้าไป เชื่อว่าแบคทีเรียมีบทบาทสำคัญในการย่อยเม็ดพลาสติกด้วย อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติม

แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนปฎิเสธไม่ได้คือ ทุกคนก็ล้วนแต่มีส่วนในการใช้และสร้างขยะพลาสติกขึ้น อันก่อให้เกิดปัญหาระบบนิเวศเสื่อมโทรมและปัญหาโรคระบาดอื่นๆที่อาจเกิดตามมา การลดใช้พลาสติกจึงเป็นทางออกง่ายๆที่คุณเองก็ทำได้ตั้งแต่ตอนนี้ อย่ารอให้มันสายเกินไป

 ข้อมูลเพิ่มเติม: http://www.astrobio.net/topic/origins/extreme-life/the-ecology-of-the-plastic-sphere/

เรื่อง: สุภัชญา เตชะชูเชิด

ภาพวาด: สารินี พลวรรณาภา